วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กรีฑา

กรีฑา  
ประวัติกีฬากรีฑา


สมัยมนุษย์ชาวถ้ำ กรีฑานับว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะแต่ก่อนมนุษย์เราไม่รู้จักทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่พัก เครื่องนุ่งห่มเหมือนปัจจุบัน มนุษย์สมัยนั้นต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิด มีที่อยู่อาศัยแห่งเดียวคือ ตามถ้ำซึ่งเราเรียกว่า Cave man พวกนี้แหล่ะที่เป็นต้นกำเนิดของการกีฬา

โดยที่มนุษย์เหล่านี้ต้องกันตัวเองจากสัตว์ร้ายบางครั้งต้องวิ่งหนี การพยายามวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ไป การวิ่งเร็วของคนถ้าหากเทียบกับปัจจุบันก็เป็นพวกวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีที่ต้องใช้การวิ่งเวลานาน ๆ ก็เป็นการวิ่งระยะยาว หรือวิ่งทน การวิ่งในที่นี้อาจรวมไปถึงการวิ่งเพื่อไล่จับสัตว์มาเป็นอาหารหรือการต่อสู้ระหว่างเผ่ากันด้วย ในบางครั้งขณะที่วิ่งมีต้นไม้หรือก้อนหินขวางหน้า ถ้าเป็นต่ำก็กระโดดข้ามไป

ปัจจุบันก็เป็นกระโดดข้ามรั้วและกระโดดสูง ถ้าต้องกระโดดข้ามลำธารเล็ก ๆ แคบ ๆ เป็นช่วง ๆ ติดต่อกัน ก็กลายมาเป็นกระโดดไกลและเขย่งก้าวกระโดด แต่ถ้าลำธารหรือเหวนั้นกว้างสุดที่จะกระโดดไกล และเขย่งก้าวกระโดดข้ามได้อย่างธรรมดาจำเป็นต้องหาไม้ยาว ๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หิน
และโหนตัวข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ก็กลายเป็นกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือแหลนที่ทำด้วยไม้ยาว ๆ เป็นอาวุธ พุ่งฆ่าสัตว์ปัจจุบันก็กลายมาเป็นพุ่งแหลน หรือการเอาก้อนหินใหญ่ ๆ ทุ่มใส่สัตว์ ขว้างสัตว์ก็กลายเป็น ขว้างจักรในสมัยนี้ จึงได้เห็นได้ว่าการวิ่ง กระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เหวี่ยง ที่พ่อ แม่ หรือหัวหน้าเผ่าสั่งสอนถ่ายทอดให้กันสมัยนั้น เพื่อไว้ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันมาในปัจจุบันก็มีเช่นกัน ผู้ทำหน้าที่นั้นก็คือ ครูบาอาจารย์ และโค้ชนั่นเอง


สมัยโรมัน ต่อมาในปลายสมัยของ ? โฮเมอร์? มีชนเผ่าหนึ่งมาตั้งรกรากอยู่บนฟากฝั่งแม่น้ำ ? ไทเบอร์? ทางด้านตะวันออกของกรีก พวกนี้เองตอนหลังกลายเป็นพวกโรมันเป็นชาตินักรบมีความกล้าหาญอดทน และมีอิทธิผลยิ่งใหญ่ขึ้นมาพร้อม ๆ กับความเสื่อมลงของประเทศกรีก และในที่สุด เมื่อกรีกตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิโรมัน การกีฬาของกรีกก็พลอยเสื่อมลงเป็นลำดับ ส่วนการพลศึกษาของโรมันเจริญขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ทางด้านพลศึกษา เพื่อให้พลเมืองมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เพื่อเป็นทหารของชาติต่อไป 

ชนิดของกรีฑา

  1. การวิ่งระยะสั้น คือ ระยะทางที่วิ่งไม่เกิน 400 เมตร ส่วนประกอบสำคัญในการวิ่งและการแกว่งแขน ท่าตั้งต้นก่อนวิ่งควรทำมุม 75-80 องศา
  2. การวิ่งผลัด เหมือนกับการวิ่งระยะสั้นต่างกันตรงมีไม้คทาถืออยู่ในมือเวลาวิ่ง
  3. การวิ่งข้ามรั้ว ควรฝึกกระโดดระดับสูงก่อน
  4. วิ่งกระโดดไกล คือ การโดดอย่างสูงจากพื้นไปในอากาศ การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ใช้ การเหยียดขาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
    1. กระโดดจากพื้นอย่างสูง
    2. ระยะลอยตัวในอากาศ
    3. ระยะลงพื้น
  5. วิ่งกระโดดสูง คือ การกระโดดขึ้นสปริงข้อเท้าข้างเดียว มี 4 แบบ
    1. แบบท่าขึ้นม้า
    2. แบบท่ากลิ้งตัว
    3. แบบท่ากรรไกรทางตรง
    4. แบบท่ากรรไกรทางเฉียง
  6. ทุ่มน้ำหนัก เป็นกรีฑาประเภทลาน การฝึกทุ่มมี 2 ระยะคือ การทุ่มอยู่กับที่และการเคลื่อนที่ผ่านวงกลมทุ่ม
  7. ขว้างจักร วิธีขว้างจักรแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การขว้างอยู่กับที่และการหมุนตัวขว้าง
  8. พุ่งแหลน เป็นกรีฑาประเภทลาน การถือแหลนมี 2 แบบ คือ แบบถือเหนือไหล่และแบบชิดข้างลำตัว

ประวัติกรีฑาในประเทศไทย

การเล่นกรีฑาในประเทศไทยริเริ่มโดยครูฝรั่งชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทยได้ฝึกเล่นกัน

ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้นหลังปี พ.ศ.2440

เป็นต้นมา การเล่นกรีฑาเริ่มเป็นทางการขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป

และเมื่อเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย ทางราชการโดยมอบหมายให้ กระทรวงธรรมการ ครู นักเรียน

รวมถึงประชาชนได้จัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชน โดยได้จัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง

(ทุ่งพระสุเมรุ) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดเป็นประเพณีสืบทอด

ต่อกันมาโดยตลอด


ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษาขึ้น กรมพลศึกษามีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติ

ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากตั้งกรมพลศึกษาขึ้นแล้ว กีฬาและกรีฑาได้ก็รับการสนับสนุน

จัดให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น กรีฑาระหว่างโรงเรียน กรีฑาระหว่างมหาวิทยาลัย

และกรีฑาระหว่างประชาชน เป็นต้น ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการแข่งขัน กรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชน

แทนกรมพลศึกษาและในปีนี้เองประเทศไทยก็สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์กรีฑาโลก

ปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมกีฬา

ประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกๆ ปีหมุนเวียนกันไปในแต่ละจังหวัด

ในการแข่งขันกีฬาเขต (กี ฬาแห่งชาติในปัจจุบัน) และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องมีการแข่งขันทุกครั้ง

ปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่น

แห่งประเทศไทยเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
 
ประโยชน์ของการเล่นกรีฑา            
การเล่นกรีฑาที่เหมาะสมกับเพศ  วัย และสภาพของร่างกายตลอดจนมีการฝึกอย่างถูกหลักเกณฑ์และวิธีการ  ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคม  เช่นเดียวกับกีฬาชนิดอื่น ๆ ดังนี้
             
 ประโยชน์ทางด้านร่างกาย
 
1. ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย  ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง  สมบูรณ์  มีความคล่องแคล่วว่องไว  มีความทรหดอดทน
2.ช่วยเสริมบุคลิกภาพให้เป็นผู้สง่างามสมส่วน  สง่าผ่าเผย  การทรงตัวดี 3.ช่วยให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น ระบบการหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร4.ช่วยให้ร่างกายมีความอดทน  ทำงานได้นาน  เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็ว5.ช่วยระบายพลังงานส่วนเกินออกไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น6.ช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานโรคได้ดี
            
 
ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์
            
1.ช่วยให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกล้าในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
2.ช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เร้าใจและตื่นเต้น3.ช่วยให้มีอารมณ์และจิตใจแจ่มใส ร่าเริง4.ช่วยระบายความตึงเครียด หลังจากที่ตรากตรำจากการทำงาน5.ช่วยให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะและรู้อภัย
              
 
ประโยชน์ทางด้านสังคม            
1.ช่วยให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กติกาอย่างเคร่งครัด2.ช่วยแก้ปัญหาของสังคม โดยการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์3.ช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี4.ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรี และความสามัคคีระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย5.ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศโดยใช้การแข่งขันกรีฑาเป็นสื่อ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น