วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กีฬาว่ายน้ำ


ประวัติกีฬาว่ายน้ำ

การว่ายน้ำเป็นกระบวนการในการเคลื่อนที่ในน้ำของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น การว่ายน้ำของมนุษย์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น นันทนาการ การแข่งขัน การออกกำลังกาย

การว่ายน้ำนั้นมีการแบ่งออกเป็นท่าต่างๆ โดยท่าที่ใช้สำหรับแข่งขันนั้นได้แก่ ท่ากบ ท่ากรรเชียง และท่าผีเสื้อ การแข่งขันอีกประเภทหนึ่งคือการแข่งขันแบบ "ฟรีสไตล์" ซึ่งผู้เข้าแข่งขันสามารถว่ายน้ำแบบใดก็ได้ นักว่ายน้ำส่วนใหญ่เลือกใช้ท่าฟรอนท์ครอล (อังกฤษ: front crawl) ทำให้มักเรียกการว่ายน้ำแบบนี้ว่าฟรีสไตล์ สหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) เป็นจัดการแข่งขันว่ายน้ำ (และกีฬาทางน้ำอื่น) ในระดับนานาชาติ การแข่งขันว่ายน้ำเป็นหนึ่งในการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
 

กีฬา ว่ายน้ำ (Swimming) ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน

การ ว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วม ไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย 

การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัย โบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก

การ แข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็นผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อ ว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke)

ประชาชนชาวโลกได้ให้ความ สนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี 

การ ว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้น เสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร ์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415

Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่ง ชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป 

กีฬา ว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น

กีฬาว่ายน้ำในโอลิมปิก (อังกฤษ: Swimming) ได้รับการยอมรับบรรจุเป็นกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี 1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยในระยะแรกมีเพียงการแข่งขันประเภทชาย เปิดโอกาสให้นักกีฬาว่ายน้ำใช้ท่าอะไรก็ได้ แต่ผลปรากฏว่า คนที่ได้รับชัยชนะคราวนั้นคือคนที่ใช้ท่าทรัดเจิ้น ในปี 1900 ที่กรุงปารีส ประเทสฝรั่งเศส คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้เพิ่มการว่ายน้ำท่ากรรเชียงเข้าไปอีก 1 รายการ ต่อมาปี 1908 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จึงเพิ่มท่ากบ และไม่นานนักท่าผีเสื้อจึงตามมาเป็นท่าสุดท้าย

อย่างไรก็ตาม ในสมัยนั้นการจัดการแข่งขันยังไม่ค่อยเข้าที่เข้าทาง การแข่งขันที่กรุงเอเธนส์ นักว่ายน้ำยังต้องใช้วิธีออกสตาร์ตด้วยการกระโดดจากบนเรือลงไปในน้ำท่เย็น จัดราวกับน้ำแข็งของทะเลเมดิเตอร์รเนียน แถมยังมีคลื่นอีกด้วย ดังนันผู้ที่จะเข้าแข่งต้องคิดถึงความแข็งแกร่งทนทานของตนเองว่ามีเพียงพอ หรือไม่ที่จะเอาชีวิตให้รอดเสียก่อน จึงจะคิดเรื่องเอาชนะ

ปี 1900 โอลิมปิกที่กรุงปารีสนั้น มีการแข่งขันว่ายใต้น้ำ รวมทั้งการว่ายน้ำผ่านเครื่องกีดขวางอีกด้วย อีก 4 ปีต่อมาที่เมืองเซนตหลุยส์ สหรัฐอเมริกา มีการแข่งดำน้ำระยะไกล (Plunge for distance) ซึ่งรายการเหล่านั้นไม่ได้รับความนิยม เพราะผู้ชมจะไม่เห็นอะไรเลลยนอกจากน้ำในขณะที่นักว่ายน้ำดำน้ำอยู่ ทำให้ถูกยกเลิกไป ส่วนการแข่งขันว่ายน้ำประเภทหญิง เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในโอลิมมปิกปี 1912 ที่กรุงสต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน

นับตั้งแต่โอลิมปิกครั้งที่ 3 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯก็ครองความเป็นจ้าวกีฬาชนิดนี้มาโดยตลอด ในปัจจุบันการแข่งขันว่ายน้ำโอลิมปิกทั้งประเภทชายและหญิงนั้น นักว่ายน้ำจากสหรัฐฯ และออสเตรเลียนับว่าอยู่แถวหน้าเหนือชาติอื่นๆ


ประวัติว่ายน้ำสากล  สหพันธ์กีฬาว่ายน้ำระหว่างประเทศ (FINA)
                         (Federation International De Natation Amateur)
 
 
สหพันธ์กีฬาว่ายน้ำระหว่างประเทศหรือเรียกว่าสหพันธ์ว่ายน้ำโลกมีชื่อเรียก ย่อๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า “FINA”  ได้กำเนิดขึ้นในปี ค.ค.1908 ประเทศอังกฤษเป็นผู้ริเริ่มและมีบทบาทมากในการก่อตั้งสหพันธ์นี้ขึ้น มีประเทศสมาชิกที่ให้การสนับสนุนหลายประเทศ เช่น กรีซ สหรัฐอเมริกา ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮอลแลนด์ เมกซิโก ฯลฯ หลังจากก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นแล้ว สมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ก็ได้แต่งตั้งนาย จี.ดับบลิว ฮีน(G.W.Hean) ผู้แทนสโมสรว่ายน้ำของอังกฤษ เป็นเลขาธิการและเหรัญญิกของสหพันธ์ ฯ เป็นเวลาถึง 16 ปี โดยไม่มีประธานสหพันธ์จนกระทั่งในปี ค.ศ.1924 ที่ประชุมจึงได้เลือก นายอีริก เบิกวอลล์ (Erik Beagvall)ชาวสวีเดนเป็นประธานสหพันธ์คนแรก ประธานได้เลือกเลขาธิการและเหรัญญิกคนเดิมต่อไปอีก 4 ปีจึงได้มีการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1928   ซึ่งประเทศฝรั่งเศสได้เป็นประธานสหพันธ์การเลือกตั้งมีทุก ๆ 4 ปี ตำแหน่งประธานสหพันธ์ก็เปลี่ยนไปตามประเทศสมาชิกต่าง ๆ

 
ประวัติกีฬาว่ายน้ำในประเทศไทย    สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
 
 
ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศในเดือน   พฤศจิกายน พ.ศ.2501 โดย น.อ.สุรพล แสงโชติ ทูตทหารเรือในฝรั่งเศสได้เป็นผู้ติดต่อไปยัง นาย บี.ซัลล์ฟอร์ส (B.Sallfors) ซึ่งเป็นเลขาธิการประจำอยู่ที่ประเทศสวีเดน  และได้รับอนุมัติ  ให้เป็นสมาชิกอย่างถูกต้องในเดือนเมษายน 2502  สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ ริเริ่มก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ.2500 โดย พลร.ต.สวัสดิ์ ภูติอนันต์ เจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารตามตำแหน่ง ดังนี้ พลเรือตรี สวัสดิ์ ภูติอนันต์ รน. เป็นนายกสมาคม   คณะ กรรมการได้เสนอเรื่องขออนุมัติ ก่อตั้งสมาคมไปยังกรมตำรวจและกระทรวงวัฒนธรรมในสมัยนั้น และได้รับอนุมัติให้เป็นสมาคมกีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2502


ประโยชน์ของกีฬาว่ายน้ำ 

ประโยชน์ ของการว่ายน้ำทำให้เกิดความปลอดภัยแล้วการว่ายน้ำเป็นกิจกรรมสำหรับการพัก ผ่อนหย่อนใจ สนุกสนานเหมาะสมสำหรับสมาชิกทุกคนซึ่งมีด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  
           
1.ด้านสรีรศาสตร์(Physiological ) ช่วยพัฒนาสุขภาพร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ปอด หัวใจ และระบบต่าง ๆ  ได้บริหาร เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ รักษาความแข็งแรงมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น 
    
2.ด้านนันทนาการ(Recreation ) ช่วยบุคคลในการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ทำให้สนุกสนาน เกิดคุณค่า 
    
3.ด้านสังคม (Social) ให้คุณค่าที่ดีแก่เยาวชนบุคคล สมาชิกในครอบครัวได้พักผ่อนอย่างมีความสุข สนุกสนานร่วมกัน ประชาชนทุกวัยได้สมาคมกันช่วยเหลือกัน 
    
4.ด้านความปลอดภัย (Safety) สามารถที่จะช่วยตัวเองให้เกิดความปลอดภัยได้   ทุกคนควรฝึกว่ายน้ำให้เป็น และเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือตนเองและบุคคลอื่น 
         
5.ด้านกิจกรรมพิเศษ (Special) ช่วยบำบัดจิตใจและร่างกายให้กับบุคคลที่ไม่สมบูรณ์ทางกาย เช่น ตาบอด  อัมพาต  เป็นง่อย  พิการ และคนที่บาดเจ็บที่จะต้องใช้การว่ายน้ำเข้าช่วยเหลือแก้ไข  เพื่อฟื้นฟูสภาพผิดปกติเหล่านั้นให้กลับสู่สภาพที่ดีขึ้น 
         
6.ด้านการแข่งขัน (Competitive) ว่ายน้ำจะมีการแข่งขันกันเพื่อเปรียบเทียบทักษะระหว่างสมาชิกด้วยกัน มีความรู้สึกว่ามีความสนุกสนานเพลิดเพลินเกิดแรงจูงใจ ที่จะนำไป  สู่การเข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่างๆ  
          
7.ด้านสติปัญญาของมนุษย์ และพัฒนาขึ้นเมื่อได้มีการเรียนรู้ หรือมีประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านเข้ามา และมนุษย์ได้ใช้ความคิดในการวินิจวิเคราะห์เพื่อพัฒนาทักษะให้ดีขึ้นว่ายน้ำเป็นกีฬาที่ต้องอาศัย ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะหลายๆอย่างประกอบกัน
          
8.ด้านอารมณ์ ทำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน  ในขณะว่ายน้ำก็ทำให้ผู้เล่นมีสมาธิอยู่กับการเคลื่อนไหวในน้ำ ทำให้สบายใจ หากว่ายน้ำเป็นระยะเวลานาน จนร่างกายมีสมรรถภาพดีแล้ว ก็ทำให้อารมณ์มั่นคงไปด้วย 
          
9.ด้านชื่อเสียงของบุคคล และประเทศชาติจะเห็นได้ว่านักว่ายน้ำที่มีความสามารถจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และได้รับการยกย่องจากบุคคลอื่นๆ และถ้าสามารถเอาชนะในการแข่งขันระดับสำคัญๆ ของการแข่งขันระหว่างชาติได้ก็ยิ่งสร้างชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูล ประเทศชาติได้รับการยกย่องจากประเทศอื่นๆ
         
10.ด้านวิชาชีพนักว่ายน้ำที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันระดับสำคัญระหว่างชาติ จะมีสโมสรต่างๆ มาจองตัวเพื่อเป็นนักกีฬาของตน  นักว่ายน้ำสามารถทำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัวสามารถเลือกที่จะทำหน้าที่ผู้ฝึกสอน ผู้สอนอาจจะทำในลักษณะงานพิเศษ หรืองานประจำได้ 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น