วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กีฬาเปตอง

กีฬาเปตอง


ประวัติกีฬาเปตอง

เปตองเป็นกีฬากลางแจ้งประเภทหนึ่งซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ประวัติที่แน่นอนไม่มีการบันทึกไว้ แต่มีหลักฐานจากการเล่าสืบต่อๆ กันมาว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีซ เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเลมาเล่นกัน ต่อมากีฬาประเภทนี้ได้แพร่หลายเข้ามาในทวีปยุโรป เมื่ออาณาจักรโรมันครองอำนาจและเข้ายึดครองดินแดนของชนชาวกรีกได้สำเร็จ ชาวโรมันได้ใช้การกีฬาประเภทนี้เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของผู้ชายในสมัยนั้น
ต่อมาเมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกลหรือประเทศฝรั่เศสในปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส การเล่นลูกบูลจึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลมแล้วใช้ตะปูตอกรอบๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกให้เหมาะกับมือ
ในยุคกลางประมาณ ค.ศ. 400-1000 การเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศษ ครั้นพอสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้ไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะพระราชสำนักเท่านั้น
ต่อมาในสมัยพระเจ้านโปเลียนมหาราชขึ้นครองอำนาจพระองค์ได้ทรงประกาศใหม่ ให้การเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของฝรั่งเศสและเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วๆ ไป ได้เล่นกันอย่างเสมอภาคทุกคน การเล่นลูกบูลนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา เช่น โดยการนำเอาลูกปืนใหญ่ที่ใช้แล้วมาเล่นกันบ้างอย่างสนุกสนามและเพลิดเพลิน จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาเล่นอย่างมากมายต่างๆ กัน เช่น บูลเบร-รอตรอง, บูลลิโยเน่ส์, บูลเจอร์ เดอร์ลอง และบลู-โปรวังซาล เป็นต้น

 
ในปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับกติกาการเล่นกีฬาลูกบูลโปรวังซาลขึ้น โดยให้วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล การเล่นกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส และมีการแข่งขันชิงแชมป์กันขึ้นโดยทั่วไป
จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 1910 ตำบลซิโอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชรด์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส การเล่นกีฬาลูก บูล-โปรวังซาลได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยนายจูลร์-เลอนัวร์ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลเก่งกาจที่สุดในขณะนั้น และ ได้เป็นแชมป์โปรวังซาลในยุคนั้นด้วยแต่ได้ประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรงจนขา ทั้งสองข้างพิการเดินไม่ได้ไม่สามารถจะเล่นกีฬาโปรวังซาลเหมือนเดิมได้ ต้องนั่งรถเข็นดูเพื่อนๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน โดยที่ตนเองไม่มีโอกาสได้ร่วมเล่นเลย
วันหนึ่งขณะที่นายจูลร์ เลอนัวร์ ได้นั่งรถเข็นมองดูเพื่อนๆ เล่นเกมโปรวังซาลอย่างสนุกสนานอยู่นั้น น้องชายเห็นว่าพี่ชายมีอาการหงอยเหงาเป็นอย่างมาก น้องชายของเขาจึงได้คิดดัดแปลงแก้ไขกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยการขัดวงกลมลงบนพื้น แล้วให้ผู้เล่นเข้าไปยืนในวงกลม ให้ขาทั้งสองยืนชิดติดกัน ไม่ต้องวิ่งเหมือนกีฬาโปรวังซาล ทั้งนี้โดยมีเพื่อนๆ และญาติของนาย จูลร์ เลอนัวร์ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ นายจูลร์ เลอนัวร์ จึงได้มีโอกาสร่วมเล่นกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้อย่างสนุกสนามและเพลิดเพลินเหมือนเดิม  

เกมกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นโดยมีสมาชิกครั้งแรกประมาณ 50 คน พวกเขาพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่เกมใหม่เป็นเวลาถึง 30 ปี จึงได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเข้าสู่นักกีฬา นักการเมือง และข้าราชการประจำในราชสำนัก จนในที่สุดก็ได้มีการก่อตั้ง "สหพันธ์ เปตองและโปรวังซาล" ขึ้นในปี ค.ศ.- 1938 จากนั้นจำนวนสมาชิกก็เพิ่มขึ้นแสนๆ คน มีบุคคลทุกระดับชั้นทุกเพศ ทุกวัยเข้าเป็นสมาชิก ลูกบูลที่ใช้เล่นก็มีการคิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้ได้รับความนิยมเล่นมากขึ้น และได้แพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ อย่างรวดเร็วทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดน อาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย การเล่นกีฬาลูกบูลนี้ได้แบ่งแยกการเล่นออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1.
ลิโยเน่ล์
2.
โปรวังชาล (วิ่ง 3 ก้าวแล้วโยน)
3.
เปตอง (ที่นิยมเล่นในปัจจุบัน)
กีฬาเปตองจัดแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.-1959 ที่เมืองสปา ประเทศเบลเยียม นักเปตองจากประเทศฝรั่งเศสได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ

ปัจจุบันกีฬาเปตองเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย สำหรับในประเทศในทวีปเอเชีย ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางมากในปัจจุบัน


ประวัติเปตองในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 17 ของโลกที่เป็นสมาชิกของ "สหพันธ์เปตองนานาชาติ" ผู้นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก และเป็นทางการคนแรก คือ อาจารย์จันทร์ โพยหาญ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และต่อมาได้มีคณะรณรงค์เผยแพร่กีฬาเปตอง คือ นายศรีภูมิ สุขเนตร (นักเรียนเก่าฝรั่งเศส) ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการเล่นกีฬาเปตอง พร้อมด้วยนายชัยรัตน์ คำนวน และนายดนัย ตรีทัศนถาวร และต่อมาก็ได้ร่วมกันก่อตั้ง "สมาคมเปตองแห่งประเทศไทย" เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2519 ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทย" โดยมี นายศรีภูมิ นุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรก
และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2520 ได้จัดให้มีการชิงแชมป์ประเทศไทยขึ้น ณ สนามฮอกกี้ (สนามเทพหัสดินทร์ในปัจจุบัน) สนามกีฬาแห่งชาติ กีฬาเปตองเริ่มเผยแพร่ไปสู่ภาคอย่างกว้างขวางในราวปี พ.ศ. 2522 โดยเฉพาะทางภาคใต้ ทางสมาคมได้เชิญโค้ชเปตองชาวฝรั่งเศส นายโอเตลโล โตวาเตลลี มาช่วยสอนและเปิดอบรมตามจังหวัดต่างๆทางภาคใต้ ซึ่งก็ได้รับความสนใจมาก ถึงขนาดมีการจัดแข่งขันชิงแชมป์ภาคใต้ขึ้น ตอนนั้นก็มีการเริ่มเล่นกันมากในหมู่ข้าราชการ และในหน่วยงานเอกชนมีการตั้งชมรมเปตองตามจังหวัดต่างๆ

ในปัจจุบันได้แพร่หลายไปทั่วทุกภาค และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกทั้งกีฬาเปตองได้แพร่หลายเข้าสู่ระบบการศึกษาของไทย อีกทั้งถูกเลือกให้เป็นกิจกรรมนันทนาการในสถานศึกษา นอกจากนั้นหน่วยงานต่างๆทั้งของรัฐและเอกชน ได้พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมเปตอง เป็นกิจกรรมกีฬาและนันทนาการที่ส่งเสริมความสามัคคีและลดความเครียดจากภารกิจ หน้าที่การงานได้ดี
  

วิธีการเล่น

ข้อ1.เปตองเป็นกีฬาที่เล่นได้กับสนามทุกสภาพ ยกเว้นพื้นคอนกรีตพื้นไม้ และพื้นดินที่มีหญ้าขึ้นสูง โดยมีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนด ผู้เล่นทุกทีมต้องเล่นในสนามที่กำหนดให้สำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับ ชาติและนานาชาติสนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร เป็นอย่างน้อย
   1.1 ส่วนการแข่งขันอื่น ๆ สมาคมฯ อาจอนุโลมให้เปลี่ยนแปลงขนาดของสนามได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมแต่ต้อง มีขนาดกว้าง 3.50 เมตร และยาว 13 เมตร เป็นอย่างน้อย
   1.2 เกมหนึ่งกำหนดให้ใช้ 13 คะแนน สำหรับการแข่งขันในรอบแรกและรอบต่อ ๆ ไป (จะใช้เพียง 11 คะแนนก็ได้) สำหรับชิงชนะเลิศในระดับนานาชาติหรือแห่งชาติให้ใช้ 15 คะแนน 

ข้อ2.ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดให้และทำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า
   2.1 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นฝ่ายชนะในการเสี่ยงเป็นผู้โยนลูกเป้าเมื่อ เลือกจุกเริ่มแล้วให้เขียนวงกลมบนพื้นมีขนาดพอที่เท้าทั้งสองข้างเข้าไปยืน อยู่ได้ (เส้นผ่าศูนย์กลาง ระหว่าง 0.35-0.50 เมตร) วงกลมนั้นจะต้องห่างจากสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และเส้นสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร สำหรับการแข่งขันในสภาพสนามที่ไม่มีขอบเขตของสนามให้เขียนวงกลมห่างจากวงกลม ของสนามอื่นไม่น้อยกว่า 2 เมตร
   2.2 ผู้ที่เตรียมเล่นจะต้องอยู่ภายในวงกลมห้ามเหยียบเส้นรอบวง ห้ามยกเท้าพ้นพื้น และห้ามออกจากวงกลมก่อนที่ลูกเปตองจะตกลงพื้นส่วนอื่นร่างกายจะถูกพื้นนอกวง กลมไม่ได้เว้นแต่คนขาพิการซึ่งได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้วางเท้าข้าง เดียวในวงกลมได้ ส่วนนักกีฬาพิการที่ต้องนั่งรถเข็นให้ขีดวงกลมรอบล้อรถเข็นได้และที่วางเท้า ของรถเข็นต้องให้อยู่สูงเหนือขอบวงกลม
   2.3 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นผู้โยนลูกเป้า ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นผู้โยนลูกเปตองลูกแรกเสมอไป
   2.4 ในกรณีที่สนามไม่ดี (ชำรุด) ห้ามผู้เล่นตกลงกันเองแข่งขันสนามอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน 

ข้อ3.ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าดีต้องมีกฎเกณฑ์ ดังนี้
   3.1 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุดถึงลูกเป้า
ก. ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี)
ข. ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 9 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 13- 14 ปี)
ค. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับเยาวชน (อายุไม่เกิน 15- 17 ปี)
ง. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับผู้ใหญ่ (ไม่จำกัดอายุ)
   3.2 วงกลมต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และเส้นเขตสนามหรือเส้นฟาล์วไม่น้อยกว่า 1 เมตร
   3.3 ตำแหน่งลูกเป้าต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร
   3.4 ลูกเป้าจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ขณะยืนตัวตรงอยู่ในวงกลม (ถ้ามีการโต้แย้งในกรณีนี้ให้ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด)
   3.5 การโยนลูกเป้าในเที่ยวต่อ ๆ ไป ให้เขียนวงกลมรอบตำแหน่งลูกเป้าที่อยู่ในเที่ยวที่แล้วเว้นแต่กรณีดังนี้

 
ก. วงกลมมีระยะห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นสนามน้อยกว่า 1 เมตร ในกรณีนี้ ผู้เล่นต้องเขียนวงกลมให้ห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นเขตสนามที่กติกาได้กำหนด ไว้
 
ข. โยนลูกเป้าไม่ได้ระยะตามที่กติกากำหนดไว้ แม้จะโยนไปในทิศทางใดก็ตาม กรณีนี้ผู้เล่นสามารถถอยหลังได้ตามแนวตรง (ตั้งฉาก) จากตำแหน่งเดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้ว แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกากำหนดไว้โดยให้นับจากเส้นฟาล์ว (Dead Bal Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
- (ถ้าไม่มีเส้นฟาล์ว ให้นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร)
 
ค. ลูกเป้าที่อยู่ในระยะการโยนหรือเล่นได้ แต่ผู้เล่นฝ่ายที่มีสิทธิ์โยนลูกเป้าไม่ประสงค์จะเล่นในระยะนั้น ๆ กรณีนี้ผู้เล่นสามารถถอยหลังตามแนวตรง (ตั้งฉาก) จากตำแหน่งจากเดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้วได้ตามความพอใจ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกากำหนดไว้โดยให้นับจากเส้นฟาว์ล (Dead Bal Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด
- (ถ้าไม่มีเส้นฟาล์ว ให้นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร)
 
ง. ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันโยนลูกเป้าไปแล้ว 3 ครั้ง ยังไม่ได้ดีตามกติกากำหนดจะต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามเป็นผู้โยน ซึ่งมีสิทธิ์โยนได้ 3 ครั้ง เช่นเดียวกัน และอาจย้ายวงกลมถอยหลังได้ตามแนวตรง (ตั้งฉาก) แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกากำหนดไว้โดยให้นับจากเส้นฟาล์ว (Dead Bal Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด (ถ้าไม่มีเส้นฟาล์วให้นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร) วงกลมที่เขียนขึ้นใหม่นั้นจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้ แม้ว่าผู้เล่นของทีมหลังนี้จะโยนลูกเป้าไม่ดีทั้ง 3 ครั้ง ก็ตาม

จ. ถึงแม้ทีมที่โยนลูกเป้า 3 ครั้งแรกโยนได้ไม่ดีตามที่กติกากำหนดก็ตาม แต่ทีมที่โยนลูกเป้าครั้งแรกนั้นยังมีสิทธิ์เป็นฝ่ายโยนลูกเปตองลูกแรกอยู่
 
ข้อ4.ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูกผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์หรือสิ่งที่เคลื่อนที่อื่น ๆ แล้วหยุด ให้นำมาโยนใหม่โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้งที่ได้กำหนดไว้
   4.1 หลังจากการโยนลูกเป้าและลูกเปตองลูกแรกไปแล้วฝ่ายตรงกันข้ามยังมีสิทธิ์ ประท้วงว่าด้วยตำแหน่งของลูกเป้านั้นได้ ให้เริ่มโยนและลูกเปตองใหม่
      4.2 ถ้าฝ่ายตรงกันข้ามได้โยนลูกเปตองไปด้วยแล้ว 1 ลูก ให้ถือว่าตำแหน่งลูกเป้านั้นดี และไม่มีสิทธิ์ประท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น

 
ข้อ5.ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าฟาล์ว มี 5 กรณีดังนี้
   5.1 เมื่อลูกเป้าที่โยนไปแล้วไม่ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7
   5.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ออกนอกเส้นฟาล์ว แต่ลูกเป้าคาบเส้นยังถือว่าดี ลูกเป้าที่ถือว่าฟาล์ว คือลูกเป้าที่ออกเส้นฟาล์วเท่านั้น
   5.3 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถมองเห็นจากวงกลมตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7.4 แต่ถ้าลูกเป้าถูกลูกเปตองบังอยู่ไม่ถือว่าฟาล์ว ทั้งผู้ตัดสินมีสิทธิ์ที่จะยกลูกเปตองที่บังอยู่ออกชั่วคราวเพื่อตรวจสอบว่า ลูกเป้านั้นมองเห็นได้ชัดเจนหรือไม่
   5.4 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไป มีระยะห่างจากวงกลมเกินกว่า 20 เมตร หรือน้อยกว่า 3 เมตร
   5.5 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว หาไม่พบภายใน 5 นาที

 
ข้อ6.ก่อนหรือหลังการโยนลูกเป้า ห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ใบไม้ ฯลฯ ในบริเวณสนามแข่งขันโดยเด็ดขาด เว้นแต่ผู้เตรียมตัวจะลงเล่นเท่านั้นที่มีสิทธิ์ปรับสนามที่มีหลุมซึ่งเกิด จากการโยนลูกเปตองของผู้เล่นคนที่แล้ว และอาจใช้ลูกเปตองปรับหลุมนั้นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎต้องลงโทษดังนี้
   6.1 ถูกเตือน
   6.2 ปรับลูกที่เล่นไปแล้วหรือลูกที่กำลังจะเล่นเป็นลูกฟาล์ว
   6.3 ปรับเฉพาะผู้กระทำผิด ให้งดเล่น 1 เที่ยว
   6.4 ปรับเป็นแพ้ทั้งทีม
   6.5 ปรับให้แพ้ทั้ง 2 ทีม ถ้ากระทำผิดเหมือนกัน หรือสมรู้ร่วมคิดกัน

 
ข้อ7.ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากมีใบไม้ กระดาษหรือสิ่งอื่น ๆ มาบังลูกเป้าโดยบังเอิญให้เอาออกได้
   7.1 เมื่อลูกเป้าหยุดนิ่งแล้วและเคลื่อนที่ไปใหม่โดยแรงลมพัดหรือจากการลาดเอียงของพื้นสนาม จะต้องนำกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิม
   7.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นจากผู้ตัดสิน ผู้ดู สัตว์ สิ่งเคลื่อนที่อื่น ๆ รวมทั้งลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เคลื่อนที่มาจากสนามอื่นให้นำลูกเป้านั้นมา วางที่ตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ต้องเครื่องหมายกำหนดจุดเดิมของลูกเป้า
   7.3 เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นควรทำเครื่องหมายบนพื้นสนามตามตำแหน่งของลูกเป้าหรือลูกเปตองไว้มิ ฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น
   7.4 ลูกเป้าที่อยู่บนพื้นสนามซึ่งมีน้ำขังอยู่ถือว่าดี หากลูกเป้านั้นยังไม่ลอยน้ำ

 
ข้อ8.ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีกสนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่
   8.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้นจะต้องหยุดรอเพื่อคอยให้ผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบก่อน
   8.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตามข้อ 12.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจ ความอดทน และความเอื้ออารีต่อกัน 

ข้อ9.ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาล์วให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
   9.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกเปตองเหลืออยู่ การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม
   9.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลืออยู่เพียงฝ่ายเดียวฝ่ายนั้นจะได้คะแนน เท่ากับจำนวนลูกเปตองที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องเล่นและจะเริ่มเล่นใหม่ที่ด้าน ตรงข้าม
   9.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเหมือนกัน ให้เริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้ามโดยให้ทีมที่คะแนนเที่ยวที่เป็นฝ่ายโยนลูกเป้า

 
ข้อ10.ลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม
   10.1 ถ้าลูกเป้าที่ยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดูหรือผู้ตัดสินแล้วหยุด ให้ลูกเป้านั้นอยู่ในตำแหน่งใหม่
   10.2 ถ้าลูกเป้าที่ยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ทำให้ลูกเป้าหยุด มี
สิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้
ก. ให้ลูกเป้าอยู่ในตำแหน่งใหม่
ข. นำลูกเป้ามาวางที่ตำแหน่งเดิม
ค.วางลูกเป้าตามแนวยาวระหว่างตำแหน่งเดิมกับตำแหน่งใหม่แต่ต้องอยู่ใหม่แต่ ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในกติกาแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติ
   10.3 กรณีตามข้อ 14.2 (ข) และ (ค) จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งลูกเป้าไว้เท่านั้น มิฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้าอยู่ในตำแหน่งใหม่

 
ข้อ11.ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่นถือว่ายัง ดีอยู่ ในเที่ยวต่อไปจะต้องมาเล่นที่สนามเดิมด้านตรงกันข้าม แต่ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7  


การวัดระยะและการวัดคะแนน 

ข้อ1.ในการวัดคะแนนอนุญาตให้โยกย้ายลูกเปตองที่เกี่ยวข้องได้แต่ต้องทำเครื่อง หมายที่มีตำแหน่งสิ่งนั้น ๆ ไว้ก่อนโยกย้าย เมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้นำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้นกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมทั้งหมดถ้าสิ่งกีดขวาง ที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ให้ใช้วงเวียนทำการวัด

 
ข้อ2.ในการวัดคะแนนระหว่างลูกเปตอง 2 ลูก ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมาก ผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้ว และบอกว่าตนได้ ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัดใหม่ เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง (ส่วนอุปกรณ์การวัดที่ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ห้ามวัดโดยการนับระยะเท้า ) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้คะแนนแล้วหลายครั้งยังตกลงกันไม่ได้ต้องให้ผู้ตัดสิน เป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน และผลการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด และหากผู้เล่นเป็นฝ่ายฝ่าฝืนกติกาข้อนี้ให้ผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง หากยังฝ่าฝืนอีกให้ปรับเป็นแพ้

 
ข้อ3.เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเที่ยวลูกเปตองทุกลูกที่ถูกนำออกก่อนการวัด คะแนน ให้ถือว่าเป็นลูกฟาล์วและไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น

 
ข้อ4.ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำการวัดคะแนนแล้ว ไปทำให้ลูกเป้าหรือเปตองที่มีปัญหานั้นเคลื่อนที่ จะต้องเป็นฝ่ายเสียคะแนนนั้นและในการวัดแต่ละครั้งต้องให้ผู้เล่นของทีมที่ ทำให้ลูกเปตองเกิดปัญหาทำการวัดทุกครั้ง ในการวัดคะแนนแต่ละครั้ง ก่อนทำการวัดผู้ตัดสินต้องทำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูกใดเปรียบและถ้าได้วัด ไปแล้ว บังเอิญผู้ตัดสินไปทำให้เปตองหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ผู้ตัดสินจะต้องทำการวัด ใหม่ และภายหลังการวัดปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ให้กรรมการ ตัดสินตามความเป็นจริงถ้าการวัดครั้งใหม่แล้วปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่า จะชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม

 
ข้อ5.ในกรณีที่ลูกเปตองของทั้งสองฝ่ายมีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากันหรือติดกับลูกเป้าทั้ง 2 ลูกให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้
   5.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเล่นแล้ว การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ จะต้องเริ่มเล่นใหม่ด้านตรงข้าม โดยผู้เล่นฝ่ายที่ได้คะแนนในเที่ยวที่แล้ว เป็นผู้โยนลูกเป้า
   5.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูกเปตองเพื่อทำคะแนนเพิ่มเติมตามจำนวนลูกเปตองที่ อยู่ใกล้เป้ามากที่สุด
   5.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกเปตองเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกเปตองทีหลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไป ถ้าลูกเปตองทั้งสองฝ่ายยังเสมอกันอยู่ต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ เล่นและต้องสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ

 
ข้อ6. หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกาะติดกับลูกเปตองหรือลูกเป้าจะต้องเอาสิ่งนั้นออกก่อนการวัดคะแนนทุกครั้ง

 
ข้อ7.การเสนอข้อประท้วงต่อผู้ตัดสินจะกระทำได้ในระหว่างการแข่งขันแต่ละเกมเท่า นั้น เมื่อเกมการแข่งขันเท่านั้น เมื่อเกมการแข่งขันนั้น ๆ ได้สิ้นสุดลงจะไม่มีประท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระมัดระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้ามบัตรประจำตัวนัก กีฬา-รุ่นของผู้เล่นสนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกเปตอง เป็นต้น

 
ข้อ8.ในขณะทำการจับสลากและการประกาศผลการจับสลาก ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะอำนวยการ หลังจากการประกาศผลไปแล้ว 15 นาที ทีมที่ไม่ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
   8.1 หากเกินกำหนดเวลา 15 นาทีไปแล้ว การปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุก ๆ 5 นาที
   8.2 บทลงโทษตามข้อ 32 จะมีผลบังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มการแข่งขันทุกครั้ง
   8.3 หลังจากการประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมงทีมที่ยังไม่ได้ลงทำการแข่งขันจะถูกปรับให้เป็นผู้แพ้ในเกมนั้น
   8.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวน ต้องลงทำการแข่งขันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่อนุญาตให้รอผู้ร่วมทีมที่มาล่าช้า และจะเล่นลูกเปตองได้ตามจำนวนที่ผู้เล่นมีสิทธิเท่านั้น (ตามประเภทที่แข่งขัน)

 
ข้อ9.เมื่อมีการแข่งขันในเที่ยวนั้นได้เริ่มเล่นไปแล้ว ผู้เล่นที่มาล่าช้าไม่มีสิทธิ์ลงเล่นในเที่ยวนั้น แต่อนุญาตให้ลงเล่นในเที่ยวต่อไปได้
   9.1 เมื่อการแข่งขันในเกมนั้นได้ดำเนินไปแล้ว 1 ชั่วโมง ผู้เล่นที่มาล่าช้าหมดสิทธิ์ลงทำการแข่งขันในเกมนั้น
   9.2 ถ้าการแข่งขันนั้นแบ่งเป็นสาย จะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมที่ 2 ได้ ไม่ว่าผลการแข่งขันในเกมแรกจะแพ้หรือชนะก็ตาม
   9.3 หากทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนสามารถชนะการแข่งขันในเกมนั้นจะอนุญาตให้ผู้ เล่นที่มาเล่นช้าลงแข่งขันในเกมต่อไปได้ แต่ต้องเป็นผู้เล่นของทีมนั้น และต้องมีชื่อถูกต้องในในสมัครด้วย
   9.4 การแข่งขันแต่ละเที่ยวจะถือว่าเริ่มขึ้นแล้วก็ต่อเมื่อลูกเป้าที่โยนไปในสนามนั้น ได้ตำแหน่งถูกต้องตามกติกา 

ข้อ10.การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะอนุญาตให้กระทำได้ก่อนจับสลากการแข่งขันเท่านั้น และต้องเป็นผู้เล่นที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในทีมอื่นของการแข่งขันเดียวกัน

 
ข้อ11.ในระหว่างการแข่งขันหากมีฝนตก ให้แข่งขันต่อไปจนจบเที่ยวเว้นแต่มีเหตุผลสุดวิสัย ไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้ ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดเท่านั้นที่มีอำนาจให้หยุดการพักการแข่งขันชั่วคราว หรือยกเลิกการแข่งขัน

   11.1 หลังจากการประกาศเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในรอบใหม่แล้ว รอบสองหรือรอบต่อ ๆ ไป หากยังมีบางทีมและบางสนามยังแข่งขันไม่เสร็จ ผู้ตัดสินอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ดีตนเห็นสมควร ด้วยความเห็นชอบคณะกรรมการจัดการแข่งขันเพื่อให้การแข่งขันนั้นดำเนินไปด้วย ดี
   11.2 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนจะออกไปจากสนามต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสียก่อน มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อ 32. และ 33.  

ข้อ12.ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ หรือรอบอื่น ๆ ก็ตาม ห้ามผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกันหรือแบ่งรางวัลกันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกันหรือแบ่งรางวัลกันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันไม่สมศักดิ์ศรี เป็นการหลอกลวงผู้ดู ผู้ควบคุมทีม และผู้เล่นทั้งสองทีมจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน และผลการแข่งขันที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นก็ให้ถือโมฆะด้วย นอกจากนั้นแล้วผู้เล่นทั้งสองทีมจะต้องถูกพิจารณาลงโทษตามที่กำหนดไว้ข้อ 11. อีกด้วย 

ข้อ13. ผู้เล่นที่มีพฤติกรรมอันเป็นการผิดมารยาทอย่างรุนแรงต่อผู้ควบคุมทีม ผู้ตัดสิน ผู้เล่นคนอื่น ๆ หรือผู้ดู จะถูกลงโทษตามสภาพความผิดดังนี้
ก. ให้ออกจากการแข่งขัน
ข. ถอนใบอนุญาต (บัตรประจำตัวนักกีฬา)
ค. งดให้รางวัลหรือเงินรางวัล
   13.1 การลงโทษผู้เล่นที่กระทำผิดอาจมีผลถึงผู้ร่วมทีมด้วย
   13.2 บทลงโทษ (ก) (ข) เป็นอำนาจของผู้ตัดสิน
   13.3 บทลงโทษ (ค) เป็นอำนาจของคณะกรรมการจัดการแข่งขันที่ทำรายงาน และส่งรางวัลที่ยึดไว้นั้นให้สมาคมฯ ทราบภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป
   13.4 การลงโทษทุกกรณี เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารสมาคม ฯ  ที่จะพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
 
ข้อ14. ผู้ตัดสินทุกคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากสหพันธ์ฯ เปตองนานาชาติหรือสมาคมเปตองแห่งประเทศไทย ฯ มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลให้การแข่งขันดำเนินไปอย่างมีระเบียบและถูกต้องตาม กติกาอย่างเคร่งครัด และมีอำนาจให้ผู้เล่นทุกคน หรือทุกทีมที่ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินออกจากการแข่งขันได้
   14.1 หากมีผู้ซึ่งเป็นนักกีฬาในสังกัดสหพันธ์ฯ เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการจลาจลในสนาม แข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องรายงานให้สหพันธ์ฯ ทราบ ทาสหพันธ์ฯ จะได้เรียกตัวผู้กระทำผิดนั้นมาชี้แจงต่อคณะกรรมการระเบียบวินัยเพื่อ พิจารณาลงโทษต่อไป
     
ข้อ15. หากกรณีอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในกติกาข้อนี้เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะ ต้องขอความร่วมมือจากคณะกรรมการชี้ขาดการแข่งขันครั้งนั้นเพื่อพิจารณา ตัดสินผู้ชี้ขาดตามสมควรแก่กรณี (คณะกรรมการชี้ขาดประกอบด้วยกรรมการ 3 หรือ 5 คน)
  15.1 การชี้ขาดของคณะกรรมการ ผู้ตัดสินชี้ขาดถือเป็นการสิ้นสุด ในกรณีมีเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดเป็นผู้ชี้ขาด
   15.2 ผู้เล่นทุกคนจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย การไม่สวมเสื้อไม่สวมรองเท้า ถือว่ามีความผิด ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎนี้ ถ้าผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง และหากยังเพิกเฉยฝ่าฝืนอีก จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน
 

 ประโยชน์ที่ได้รับจากกีฬาเปตอง
 
-เป็นกีฬาไม่หักโหม ไม่มีการปะทะ ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบ
-เล่นได้ทุกเพศทุกวัยวัย ทุกกลุ่มอาชีพ
-ฝึกการใช้ความคิด สติปัญญา ฝึกสายตา การวางแผน มีเหตุผล การตัดสินใจ
-ได้ออกกำลังกาย ผ่อนคลาย เพลิดเพลิน สนุกสนาน ช่วยให้สุขภาพจิตดี
-ใช้อุปกรณ์ไม่มาก ใช้ค่าใช้จ่ายน้อย
-เล่นได้ทุกสถานที่ ที่ไม่ใช่พื้นไม้, ซีเมนต์, หรือมีน้ำขังจนลูกเป้าลอย
-เปิดโอกาสให้คนพิการสามารถเล่นได้
-ส่งเสริมความสัมพันธ์ สามัคคีของครอบครัว สังคม ชุมชน
 
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น